ระบบฐานข้อมูล (Database)22

ความหมายของระบบฐานข้อมูล
                ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

                ตัวอย่าง

ชื่อฐานข้อมูล
กลุ่ม ข้อมูล
บริษัท

-          พนักงาน
-          ลูกค้า
-          สินค้า
-          ใบสั่งสินค้า
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
-          นักเรียน
-          อาจารย์
-          วิชา
-          การลงทะเบียน



                ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ  เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS



องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
                ระบบฐานข้อมูลเป็นเพียงวิธีคิดในการประมวลผลรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่การใช้ฐานข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
1.       แอพลิเคชันฐานข้อมูล (Database Application)
2.       ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ  DBMS)
3.       ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server)
4.       ข้อมูล (Data)
5.       ผู้บริหารฐานข้อมูล ((Database Administrator หรือ DBA)

แอพพลิเคชันฐานข้อมูล
เป็นแอพพลิเคชันที่สร้างไว้ให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก ซึ่งมี
รูปแบบการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบเมนูหรือกราฟฟิก  โยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเลยก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้เช่น บริการเงินสด ATM

ระบบจัดการฐานข้อมูล
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น

                หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มีดังนี้
1.       กำหนดมาตรฐานข้อมูล
2.       ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ
3.       ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
4.       จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล
5.       จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)
6.       รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย
7.       บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ
8.       เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลในระดับ
ต่าง ๆ



 







               
ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
                เป็นคอมพิวเตอร์ที่คอยให้บริการการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ระบบจัดการฐานข้อมูลทำงานอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความรวดเร็วในการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยทั่วไป
                ข้อมูล
                ข้อมูล คือ เนื้อหาของข้อมูลที่เราใช้งาน ซึ่งจะถูกเก็บในหน่วยความจำของดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ โยจะถูกเรียกมาใช้งานจากระบบจัดการฐานข้อมูล
                ผู้บริหารฐานข้อมูล
                ผู้บริหารฐานข้อมูล คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานอย่างปกติด้วย

























 

















รูปแบบฐานข้อมูล
ขอยกรูปแบบที่นิยมเท่านั้น ถ้าต้องการทราบสามารถดูได้จากหนังสือฐานข้อมูลทั่วไป

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่นิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันมากที่สุดฐานข้อมูลหนึ่ง โดยผู้ริเริ่มพัฒนาก็คือ อีเอฟ คอดด์ (E.F.Codd) และระบบจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ฐานข้อมูลแบบนี้ ได้แก่ Microsoft Access, DB2 และ Oracle เป็นต้น
ลักษณะโครงสร้างข้อมูลของฐานข้อมูลชนิดนี้ ข้อมูลถูกจัดเก็บในรูปแบบของคาราง (Table) ซึ่งภายในตารางก็จะแบ่งออกเป็นแถว (Row) และคอลัมน์ (Column) แต่ละตารางจะมีจำนวนแถวได้หลายแถว และจำนวนคอลัมน์ได้หลายคอลัมน์ แถวแต่ละแถวสามารถเรียกชื่อได้อีกอย่างว่า ระเบียนหรือเรคคอร์ด (Record) และคอลัมน์แต่ละคอลัมน์เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า เขตข้อมูลหรือ ฟิลด์ (Field)


ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลในรูปแบบตาราง
คอลัมน์ 1                              คอลัมน์ 2                              คอลัมน์ 3                              คอลัมน์ 4












 


รหัสลูกค้า
ชื่อลูกค้า
ที่อยู่
แถว 1
แถว 2
แถว 3
 
เบอร์โทรศัพท์
0315
0541
0544
ศิริคอมพิวส์
วัฒนาสโตร์
ไมโครธุรกิจ
ราชเทวี
ศรนครินทร์
บางกะปิ
4458452
6501548
7488851
ตารางลูกค้า (Customer Table)

จุดเด่นของข้อมูลเชิงสัมพันธ์
1.       ง่ายต่อการเรียนรู้ และการนำไปใช้งาน ทำให้เห็นภาพข้อมูลชัดเจน
2.       ภาษาที่ใช้จัดการข้อมูลเป็นแบบซีเควล ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงเข้าใจง่าย
3.       การออกแบบระบบมีทฤษฎีรองรับ สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้

หมายเหตุ ภาษาซีเควล (Structured Query Language หรือ SQL) เป็นภาษามาตรฐานภาษาหนึ่ง มีรูปแบบการใช้คำสั่งเป็นภาษาเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและเรียนรู้ วิธีการใช้งาน ซึ่งกล่าวต่อไป


ตัวอย่างฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

กล่องข้อความ: รหัสลูกค้า

ชื่อลูกค้า

ที่อยู่

เบอร์โทรศัพท์กล่องข้อความ: รหัสลูกค้า

ชื่อสินค้า

ราคาขาย

ราคาทุน                         1                                                                                  1

บทความที่ได้รับความนิยม